วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)ตามรูปศัพท์

เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา)

หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ

นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ


1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ยุค

1. ยุคเริ่มแรกจนถึงปี 1700


2. พัฒนาการของเทคโนโลยี ปี1700 - 1900 ก่อนปี 1800

3. ยุคเทคโนโลการศึกษา ปี 1900 - ปัจจุบัน


ขอบข่ายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



การออกแบบ(Design)
การพัฒนา(Development)
การใช้(Utilization)
การจัดการ(Management)
การประเมิน(Evaluation)

จิตวิทยาการเรียนรู้

Psyche - - -> Psycho = วิญญาณ (Mind , Soul)

Logos - - - -> logy = ศาสตร์ วิชา วิทยาการ (Science , Study )


Psychology จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต
ถ้าแปลตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ Psychology หรือจิตวิทยา หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ


ดังนั้น จิตวิทยาการเรียนรู้ จึงศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning Style) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดนำศาสตร์ด้านจิตวิทยา มาใช้กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด “จิตวิทยาการเรียนรู้ จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning Theory : Behaviorism)
นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้

1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข

3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์


ทฤษฎีพื้นฐานทางความคิด (assumption) ของทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้ พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่างเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้น

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบสื่อการเรียนการสอน

การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียนเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลางจนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้น

แบบจำลอง ADDIE

เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป





แบ่งเป็นขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ

1.ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)

2. ขั้นการออกแบบ(Design)

3. ขั้นการพัฒนา(Delopment)

4. ขั้นการนำไปใช้(Implementation)

5. ขั้นการประเมิน(Evaluation)